
ฝ่ายสำนักงาน
ประชุมกรรมการบริหาร
ครั้งที่ 10/2559
วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09.30 น.
-------------------------------
1. การจ้างงานคนพิการ
ด้วยกรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดเชียงใหม่ แจ้งว่าหารือกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและคนพิการ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2556 เห็นว่ามูลนิธิฯ ต้องรับคนพิการเข้าทำงานตามอัตราส่วนที่กฎกระทรวงฯ กำหนด หากไม่สามารถปฏิบัติได้ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนในอัตราคนละ 109,500 บาท ต่อคนต่อปี
ประชุมกรรมการบริหาร
ครั้งที่ 10/2559
วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09.30 น.
-------------------------------
1. การจ้างงานคนพิการ
ด้วยกรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดเชียงใหม่ แจ้งว่าหารือกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและคนพิการ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2556 เห็นว่ามูลนิธิฯ ต้องรับคนพิการเข้าทำงานตามอัตราส่วนที่กฎกระทรวงฯ กำหนด หากไม่สามารถปฏิบัติได้ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนในอัตราคนละ 109,500 บาท ต่อคนต่อปี
ปี
|
จำนวนลูกจ้าง
(ราย)
|
อัตราส่วน
|
มูลนิธิฯรับคนพิการเข้าทำงานตาม ม. 33 (ราย)
|
มูลนิธิฯขาดส่งคนพิการตาม ม.33
(ราย) |
มูลนิธิฯต้องจ่ายเงินแทนการรับคน
พิการ ตาม ม.34
|
การให้สัมปทาน ตาม ม.35
(ราย)
|
สถานะ
|
2559
|
2,204
|
100 ต่อ 1 = 22 ราย
|
12
|
10
|
1,142,925.00
|
-
|
3
|
2558
|
2,138
|
100 ต่อ 1 = 21 ราย
|
11
|
10
|
1,225,050.00
|
-
|
3
|
2557
|
768
|
100 ต่อ 1 = 8 ราย
|
14
|
-
|
-
|
-
|
1
|
2556
|
766
|
100 ต่อ 1 = 8 ราย
|
11
|
-
|
-
|
-
|
1
|
2555
|
496
|
100 ต่อ 1 = 5 ราย
|
6
|
-
|
-
|
-
|
1
|
จากการหารือกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2559 ได้รับคำแนะนำดังนี้
1) พ.ศ. 2558-2559 ให้มูลนิธิฯ ค้นหาจำนวนลูกจ้าง/เจ้าหน้าที่ย้อนหลัง ณ วันที่ 1 ตุลาคม นี้ก่อน โดยกำหนดให้มีระยะดำเนินงานได้ 1 ปี
2) พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ข้างต้นอย่างเคร่งครัด
โดยจำแนกประเภทคนพิการ ได้ดังนี้
สรุปประเภทของความพิการ ตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2556
มาตรา 4 “คนพิการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป
ตามประกาศกระทรวง ดังนี้
1. ความพิการทางการเห็น ได้แก่
- ตาบอด เป็นผลมาจากมีความบกพร่องในการเห็น เมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตามธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับแย่กว่า 3 ส่วน 60 เมตร ลงมาจนกระทั่งมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือลานสายตาแคบกว่า 10 องศา
- ตาเห็นเลือนราง เป็นผลมาจากมีความบกพร่องในการเห็น เมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตามธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับแย่กว่า 6 ส่วน 18 เมตร ลงมาจนกระทั่งมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือลานสายตาแคบกว่า 30 องศา
2. ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ได้แก่
- หูหนวก เป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการได้ยินจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน เมื่อตรวจการได้ยิน โดยใช้คลื่นความถี่ที่ 500 เฮิรตช์ 1000 และ 2000 เฮิรตช์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียง 90 เดซิเบลขึ้นไป
- หูตึง เป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการได้ยิน เมื่อตรวจการได้ยิน โดยใช้คลื่นความถี่ที่ 500 เฮิรตช์ 1000 และ 2000 เฮิรตช์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงน้อยกว่า 90 เดซิเบลลงมาจนถึง 40 เดซิเบล
- ความพิการทางการสื่อความหมาย เป็นผลมาจากการมีความบกพร่องทางการสื่อความหมาย เช่น พูดไม่ได้ พูดหรือฟังแล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ
3. ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ได้แก่
- ความพิการทางการเคลื่อนไหว เป็นผลมาจากการมีความบกพร่องหรือสูญเสียความสามารถของอวัยวะในการเคลื่อนไหว ได้แก่ มือ เท้า แขน ขา อาจมากจากสาเหตุ อัมพาต แขน ขา อ่อนแรง แขน ขาขาด หรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังจนมีผลกระทบต่อการทำงาน มือ เท้า แขน ขา
- ความพิการทางร่างกาย เป็นผลมาจาก การมีความบกพร่องทางหรือความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และภาพลักษณ์ภายนอกของร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจน
4. ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
เป็นผลมากจากความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์ หรือความคิด
5. ความพิการทางสติปัญญา
เป็นผลมาจากการมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือมีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าบุคคลทั่วไป โดยความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ 18 ปี
6. ความพิการทางการเรียนรู้
เป็นผลมาจากความบกพร่องทางสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องในด้านการอ่าน เขียน การคิด คำนวณ หรือกระบวนการเรียนรู้พื้นฐานอื่นในระดับความสามารถที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามช่วงอายุและระดับสติปัญญา
7. ความพิการทางออทิสติก
เป็นผลมาจากความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมอง และความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ 2 ปีครึ่ง ทั้งนี้ให้รวมถึงการวินิจฉัยกลุ่มออทิสติกสเปกตรัมอื่น ๆ
1) พ.ศ. 2558-2559 ให้มูลนิธิฯ ค้นหาจำนวนลูกจ้าง/เจ้าหน้าที่ย้อนหลัง ณ วันที่ 1 ตุลาคม นี้ก่อน โดยกำหนดให้มีระยะดำเนินงานได้ 1 ปี
2) พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ข้างต้นอย่างเคร่งครัด
โดยจำแนกประเภทคนพิการ ได้ดังนี้
สรุปประเภทของความพิการ ตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2556
มาตรา 4 “คนพิการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป
ตามประกาศกระทรวง ดังนี้
1. ความพิการทางการเห็น ได้แก่
- ตาบอด เป็นผลมาจากมีความบกพร่องในการเห็น เมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตามธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับแย่กว่า 3 ส่วน 60 เมตร ลงมาจนกระทั่งมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือลานสายตาแคบกว่า 10 องศา
- ตาเห็นเลือนราง เป็นผลมาจากมีความบกพร่องในการเห็น เมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตามธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับแย่กว่า 6 ส่วน 18 เมตร ลงมาจนกระทั่งมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือลานสายตาแคบกว่า 30 องศา
2. ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ได้แก่
- หูหนวก เป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการได้ยินจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน เมื่อตรวจการได้ยิน โดยใช้คลื่นความถี่ที่ 500 เฮิรตช์ 1000 และ 2000 เฮิรตช์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียง 90 เดซิเบลขึ้นไป
- หูตึง เป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการได้ยิน เมื่อตรวจการได้ยิน โดยใช้คลื่นความถี่ที่ 500 เฮิรตช์ 1000 และ 2000 เฮิรตช์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงน้อยกว่า 90 เดซิเบลลงมาจนถึง 40 เดซิเบล
- ความพิการทางการสื่อความหมาย เป็นผลมาจากการมีความบกพร่องทางการสื่อความหมาย เช่น พูดไม่ได้ พูดหรือฟังแล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ
3. ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ได้แก่
- ความพิการทางการเคลื่อนไหว เป็นผลมาจากการมีความบกพร่องหรือสูญเสียความสามารถของอวัยวะในการเคลื่อนไหว ได้แก่ มือ เท้า แขน ขา อาจมากจากสาเหตุ อัมพาต แขน ขา อ่อนแรง แขน ขาขาด หรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังจนมีผลกระทบต่อการทำงาน มือ เท้า แขน ขา
- ความพิการทางร่างกาย เป็นผลมาจาก การมีความบกพร่องทางหรือความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และภาพลักษณ์ภายนอกของร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจน
4. ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
เป็นผลมากจากความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์ หรือความคิด
5. ความพิการทางสติปัญญา
เป็นผลมาจากการมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือมีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าบุคคลทั่วไป โดยความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ 18 ปี
6. ความพิการทางการเรียนรู้
เป็นผลมาจากความบกพร่องทางสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องในด้านการอ่าน เขียน การคิด คำนวณ หรือกระบวนการเรียนรู้พื้นฐานอื่นในระดับความสามารถที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามช่วงอายุและระดับสติปัญญา
7. ความพิการทางออทิสติก
เป็นผลมาจากความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมอง และความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ 2 ปีครึ่ง ทั้งนี้ให้รวมถึงการวินิจฉัยกลุ่มออทิสติกสเปกตรัมอื่น ๆ